week4



บันทึกหลังสอน Week 4
            สัปดาห์ที่ 4 ครูเริ่มต้นด้วยการให้นักเรียนดูเหรียญที่ครูเตรียมมา และเชื่อมโยงสู่ความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้นและการทดลอง เกี่ยวกับการโยนเหรียญ โดยครูเพิ่มจำนวนขึ้นทีละเหรียญจาก 1 เหรียญ เป็น 2 เหรียญ เป็น 3 เหรียญ เป็น 4 เหรียญ และให้นักเรียนสังเกตความสัมพันธ์ของจำนวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับจำนวนเหรียญที่เพิ่มขึ้น ซึ่งนักเรียนส่วนมากสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของจำนวนเหตุการณ์ทั้งหมดที่จะเกิดขึ้น(Sample space) ทำให้อยู่ในรูปของพจน์ที่ n ได้ ดังตาราง

 วันต่อมาครูได้ให้นักเรียนดูลูกเต๋าที่ครูเตรียมมา และให้นักเรียนตอบคำถามเกี่ยวกับโอกาสที่จะเกิดขึ้นถ้าโยนลูกเต๋า 1 ครั้ง โอกาสที่จะเกิดขึ้นถ้าโยนลูกเต๋าพร้อมกัน 2 ลูก 3 ลูก 4 ลูก 5 ลูก ตามลำดับโดยเชื่อมโยงเข้าสู่อนุกรมตัวเลขซึ่งนักเรียนส่วนมากสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของจำนวนเหตุการณ์ทั้งหมดที่จะเกิดขึ้น(Sample space) ทำให้อยู่ในรูปของพจน์ที่ n ได้ เช่นเดียวกับการโยนเหรียญ ดังตาราง


       หลังจากนั้นครูได้ยกตัวอย่างวิธีการเลือกแต่งตัว เช่น มีเสื้อ 2 ตัว กางเกง 3 ตัว รองเท้า 2 คู่ จะมีวิธีเลือกแต่งตัวได้กี่วิธีซึ่งมีนักเรียนบางคนสามารถตอบได้ และบางคนยังไม่สามารถจัดระเบียบความคิดได้ ครูจึงเชื่อมโยงสู่การคิดทีละขั้น (แผนภูมิต้นไม้) ทำให้นักเรียนเข้าใจมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ครูได้ให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับคำว่า
1. เกิดขึ้นแน่นอน
2. อาจเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้
3. ไม่เกิดขึ้นแน่นอน
โดยครูได้ยกตัวอย่าง เช่น ถ้านักเรียนมีลูกแก้วสีแดง 3 ลูก สีขาว 4 ลูก สีดำ 5 ลูก หากนำใส่ในขวดโหลและสุ่มหยิบ โอกาสของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร ถ้า
1. หยิบลูกแก้วจากโหล 1 ลูก
1.1) หยิบได้ลูกแก้วสีขาว สีดำ หรือสีแดง สีใดสีหนึ่ง (ตอบ เกิดขึ้นอย่างแน่นอน)
1.2) หยิบแล้วได้ลูกแก้วสีดำ (ตอบ อาจเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้)
1.3) หยิบแล้วได้ลูกแก้วสีเขียว (ตอบ ไม่เกิดขึ้นแน่นอน เพราะ)
2. หยิบลูกแก้วจากโหล 10 ลูกพร้อมกัน
2.1) หยิบได้ลูกแก้วทั้ง 3 สี (ตอบ เกิดขึ้นอย่างแน่นอน)
2.2) หยิบแล้วได้ลูกแก้วสีแดง 3 ลูก สีขาว 3 ลูก สีดำ 4 ลูก (ตอบ อาจเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้)
2.3) หยิบแล้วได้ลูกแก้วสีดำ 2 ลูก (ตอบ ไม่เกิดขึ้นแน่นอน เพราะ)
ซึ่งนักเรียนส่วนมากสามารถตอบคำถามและสามารถอธิบายเหตุผลประกอบได้ นอกจากนี้ครูได้เพิ่มเติมโจทย์ที่หลากหลายเพื่อให้เด็กๆได้เรียนรู้ในมิติที่หลากหลายมากขึ้น รวมทั้งสอดแทรกตัวเลขอนุกรมกับความน่าจะเป็นในชั่วโมงการคิด ช่วงแรกนักเรียนส่วนมากยังไม่เข้าใจและยังงงกับที่มาของตัวเลข แต่เมื่อครูใช้คำถามนำเพื่อให้นักเรียนคิด พบว่าเริ่มมีนักเรียนบางคนที่เห็นรูปแบบความสัมพันธ์ของตัวเลข และเพื่อนนักเรียนอีกหลายคนก็เริ่มมองเห็นภาพความสัมพันธ์ทำให้บรรยากาศการเรียนรู้ชั่วโมงการคิดเป็นไปอย่างสนุกสนาน หลังจากนั้นครูได้ให้โจทย์เพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกฝนการคิดจากตัวอย่างโจทย์ที่หลากหลายมากขึ้น และเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น สัปดาห์นี้นักเรียนให้ความร่วมมือในการเรียนรู้เปนอย่างดีครับ






















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น